บทความ

ประเภทของ Forex Broker มีอะไรบ้าง
Share: facebook_share line_share twitter_share messenger_share

ประเภทของ Forex Broker มีอะไรบ้าง


ในการลงทุนอย่าง Forex มีการใช้ตัวกลางอย่าง โบรกเกอร์ ( Broker ) เช่นกัน เหมือนกับการเล่นหุ้น โดยวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ Forex Broker ประเภทต่าง ๆ กันครับ

 

Forex Broker คืออะไร?

ฟอเร็กซ์บล็อกเกอร์ ( Forex Broker ) คือ บริษัทที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของนักลงทุนหรือ เทรดเดอร์ ( Trader ) ในการส่งคำสั่งซื้อขายของนักลงทุนเข้าสู่ศูนย์กลางตลาด Forex หรือสรุปให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่า Forex Broker นั้น  เป็นตัวกลางระหว่างนักลงทุนและตลาด Forex นั่นเอง

 

ไม่มี Forex Broker ได้หรือไม่?

คำตอบ คือ "ไม่ได้" นักลงทุนมือใหม่ หลายคนอาจจะคิดว่า การเทรด Forex สามารถทำได้เอง โดยไม่ต้องผ่านตัวกลางอย่าง โบรกเกอร์ ซึ่งหากคุณจะทำการเทรด Forex ต้องทำการซื้อขายผ่านทาง โบรกเกอร์เท่านั้น ไม่สามารถซื้อขายโดยตรงกับตลาดกลางได้ เป็นกติกาของตลาด Forex

 

หน้าที่ของ Forex Broker

  • เปิดบัญชีเทรด ตรวจสอบเอกสารยืนยันตัวตนของผู้เปิดบัญชีให้
  • บริการ ฝาก ถอน เงินเข้าบัญชีเทรด
  • ให้บริการแพลตฟอร์มสำหรับการเทรด เช่น MT4 , MT5 Support
  • แก้ไขปัญหาการใช้งาน หรือให้ข้อมูลกับเทรดเดอร์

 

ประเภทของ Forex Broker

สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

 

1. โบรกเกอร์ แบบ Dealing Desk (DD)

เป็นโบรกเกอร์ที่ดำเนินการผ่านเคาน์เตอร์จัดการ (Market Maker) โดยคำสั่งซื้อที่คุณส่ง จะอยู่ใบมือโบรกเกอร์ เมื่อเราทำการซื้อขาย โบรกเกอร์ก็จะทำการจับคู่อีกฝั่งหนึ่งของระบบ โดยโบรกเกอร์จับคู่ด้วยตัวเอง ไม่ส่งคำสั่งไปยังตลาดกลาง

 

ข้อดีของ โบรกเกอร์ แบบ Dealing Desk (DD)

  • ค่าธรรมเนียมในการเทรด (Spread) ถูก เป็นแบบ Fixed Spread ตายตัว
  • ค่า commission ต่ำ (บางโบรกไม่คิด)
  • ค่าบริการต่าง ๆ ถูกกว่าปกติ

 

 

ข้อเสียของ โบรกเกอร์ แบบ Dealing Desk (DD)

  • คำสั่งซื้อขาย Forex อาจมีความล้าช้า เพราะต้องผ่านเคาน์เตอร์จัดการ
  • ราคาที่ได้ อาจไม่ใช่ราคาจริงในตลาด (คลาดเคลื่อนนิดหน่อย)
  • อาจมีการปฏิเสธการรับคำสั่งซื้อ (Re-Quotes)
  • ช่วงที่มีปริมาณการเทรดมาก ช่วงมีข่าว มักมีปัญหาบ่อย
  • ในบางโบรกเกอร์ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ โบรกเกอร์สามารถตกแต่งราคาเองได้

 

2. โบรกเกอร์ Non Dealing Desk (NDD)

เป็นโบรกเกอร์ที่ส่งคำสั่งซื้อขายไปยังตลาดกลางโดยตรง ก็คือ ธนาคาร หรือ Liquid Provider โบรกเกอร์รูปแบบนี้ จะไม่ทำการเก็บออเดอร์เอาไว้เอง จึงเปรียบเสมือนเป็นสะพานในการส่งคำสั่งซื้อขายไปยังศูนย์กลางเท่านั้น โบรกเกอร์ประเภท No Dealing Desk (NDD) สามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท คือ

 

  • STP ( Straight Through Processing System )  คือ การประมวลผลโดยตรง ในการจับคู่คำสั่งซื้อ - ขายของลูกค้าเข้าสู่ตลาดจริงโดยตรง ทำให้ได้ราคาตรงกับราคาตลาดจริงโดยระบบจะจัดเรียงลำดับ Bid กับ Ask ให้กับทางโบรกเกอร์ที่ใช้ระบบ STP

 

  • ECN+STP ( Electronic Communication Network + Straight Through Processing ) โบรกเกอร์ที่เป็น ECN+STP คือ การใช้ระบบที่ทำให้คำสั่งซื้อ-ขายสามารถจับคู่กับราคาในตลาดได้อย่างรวดเร็ว ไม่เกิดการรีโควต เนื่องจากระบบนี้เป็นระบบที่เมื่อเปิดบัญชีและป้อนคำสั่งเข้าไปแล้วระบบจะไม่เก็บข้อมูลไว้ที่โบรกเกอร์ก่อนส่งไปยังส่วนกลาง ทำให้ซื้อ - ขายได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับนักเทรดที่อยู่ในระดับมืออาชีพแล้ว

 

ข้อดีของ โบรกเกอร์ Non Dealing Desk (NDD)

  • เทรดเดอร์สามารถซื้อขาย Forex ได้ในราคาเดียวกับตลาดกลาง
  • คำสั่งซื้อขายมีความรวดเร็วกว่า
  • มีสภาพคล่องที่สูง เนื่องจากโรกเกอร์ส่งคำสั่งไปยังตลาดกลางโดยตรง
  • มีความปลอดภัย และน่าเชื่อถือมากกว่า แบบ DD
  • ไม่ค่อยมีการปฏิเสธการรับคำสั่งซื้อ (Re-Quotes)
  • โบรกเกอร์ประเภทนี้ ต้องมีการขอในอนุญาติ ในรับรอง มีกฎระเบียบในการดำเนินการที่เคร่งครัด ทำให้สามารถไว้วางใจได้

 

ข้อเสียของ โบรกเกอร์ Non Dealing Desk (NDD)

  • ค่าธรรมเนียมในการเทรด  (Spread) สูง
  • ค่า commission สูง
  • ค่าดูแล ค่าบริการต่าง ๆ อาจจะแพงกว่านิดหน่อย

 

จากการเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของ Forex Broker ทั้ง 2 ประเภท จะเห็นได้ว่า โบรกเกอร์ Non Dealing Desk (NDD) มีการดำเนินการการซื้อขาย ความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือมากกว่า โบรกเกอร์ แบบ Dealing Desk (DD) ส่วนด้านค่าใช้จ่ายที่สูงกว่านั้น ในปัจจุบัน โบรกเกอร์ Non Dealing Desk (NDD) มีการแข่งขันที่สูงมากขึ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ถูกลงได้ และสามารถเลือก โบรกเกอร์ได้ หลากหลายอีกด้วย

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

10 อันดับ โบรกเกอร์ forex ที่มีความน่าเชื่อถือ และความปลอดภัย

มาเรียนรู้ตลาดก่อนที่จะเริ่มเทรด Forex กันเถอะ

 




เราเป็นเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลความรู้, ข้อมูล, ข่าวสารในตลาด Forex และต้องเน้นย้ำว่าตลาด Forex มีความเสี่ยงสูง และไม่เหมาะสมกับทุกคน ควรมีการศึกษาข้อมูลให้เข้าใจก่อน นักลงทุนอาจสูญเสียเงินทั้งหมด เพราะการลงทุนมีความเสี่ยงเสมอ

คำเตือนความเสี่ยง การลงทุน และการเก็งกำไรมีความเสี่ยง นักลงทุนและนักเก็งกำไร ควรเรียนรู้เพิ่มเติม และปรึกษาที่ปรึกษาทางการเงิน ก่อนตัดสินใจลงทุนหรือเก็งกำไรใดๆการซื้อขายผลิตภัณฑ์ที่มีเลเวอเรจ เช่น CFD มีความเสี่ยงสูงที่จะขาดทุน และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกคน การซื้อขายบนตลาด Forex ดังกล่าวมีความเสี่ยง และคุณอาจสูญเสียเงินลงทุนทั้งหมด เว็บไซต์ www.forex.com จึงขอเป็นผู้ให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจ ว่าให้ความรู้ และคำแนะนำที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจ ทั้งบทความ และคลิปความรู้มากมาย