สำหรับเหล่าเทรดเดอร์ FOREX คงรู้จัก ปฏิทินเศรษฐกิจ กันเป็นอย่างดี เพราะ นับว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือพื้นฐานในการวิเคราะห์ตลาด FOREX
ปฏิทินเศรษฐกิจ ( Economic Calender ) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเกาะติดข้อมูลทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ซึ่งมีผลกระทบต่อตลาดการเงิน รวมถึงตลาด FOREX โดยปฏิทินเศรษฐกิจ จะรายงานเศรษฐกิจในระดับมหภาค ที่เป็นเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค ประเทศ และระดับโลก เช่น รายได้ประชาชาติ ผลผลิต การบริโภค การว่างงาน เงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย การออม การลงทุน การค้าระหว่างประเทศ การเงินระหว่างประเทศ เป็นต้น
เทรดเดอร์ (Trader) ส่วนใหญ่ จึงใช้ปฏิทินเศรษฐกิจ ในการวิเคราะห์การเทรดรายวัน เนื่องจาก ปฏิทินเศรษฐกิจ ได้รวบรวมตัวบ่งชี้ทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ไว้ภายในปฏิทิน ทำให้เทรดเดอร์ สามารถหาข้อมูลทางเศรษฐกิจ ได้อย่างครบถ้วน และประหยัดเวลาในการหาข้อมูล เพื่อเทรดรายวัน ซึ่ง ดัชนีทางเศรษฐกิจยอดนิยม ที่อาจพบได้ใน ปฏิทินเศรษฐกิจ มีดังต่อไปนี้
ผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ ( GDP )
เป็นหนึ่งในเครื่องมือทางเศรษฐกิจที่ใช้ในการวัดการเจริญเติบโตของประเทศ โดยมีองค์ประกอบหลักมาจาก 5 ส่วน คือ การบริโภค (Consumption) การลงทุน (Investment) การใช้จ่ายหรือการลงทุนจากภาครัฐ (Government Spending) การส่งออก (Export) และการนำเข้า (Import) โดยคิดมูลค่าของตลาดสินค้าและบริหารขั้นสุดท้าย ที่เกิดขึ้นภายในประเทศ ภายในระยะเวลาหนึ่ง
อัตราการว่างงาน ( Unemployment Rate )
ร้อยละของ กำลังแรงงานที่ไม่มีงานทำ หรือผู้ว่างงาน ต่อกำลังแรงงานทั้งหมด ของประเทศนั้น ๆ ซึ่งกำลังแรงงาน วัดจากผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป ที่มีความพร้อมและต้องการทำงาน โดยข้อมูลนี้สามารถบ่งบอกได้ถึงสภาวะของตลาดแรงงานและรายได้ของครัวเรือน ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะของเศรษฐกิจในประเทศนั้น ๆ
ดุลการค้า ( Balance Of Trade )
เป็นการเปรียบเทียบ ผลต่างมูลค่าสินค้าระหว่าง การนำเข้าสินค้ากับมูลค่าการส่งออกสินค้าของประเทศ โดยทั่วไประยะเวลาที่ใช้เปรียบเทียบ คือ รายเดือน รายไตรมาส และรายปี ซึ่งดุลการค้า มีด้วยกัน 3 รูปแบบ ในกรณีที่การนำเข้ามากกว่าการส่งออก แสดงว่า ขาดดุลการค้า แต่ถ้าประเทศมีการส่งออกมากกว่าการนำเข้า แสดงว่า เกินดุลการค้า และถ้าส่งออกและนำเข้าเท่ากันเรียกว่า สมดุลการค้า ซึ่งดุจการค้า สามารถบ่งบอกได้ถึง สภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืดได้
ดัชนีราคาผู้บริโภค ( CPI )
ดัชนีที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการต่างๆ ที่ผู้บริโภคนิยมซื้อเป็นประจำ กว่า 200 รายการ ซึ่งมักถูกนำไปใช้ในการปรับปรุงค่าจ้าง และเงินเดือนให้สอดคล้องกับราคาสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นได้ จึงถูกใช้เป็นตัววัดอัตราเงินเฟ้อได้
ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI)
ดัชนี้ที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ที่ผู้ผลิตได้ผลิตออกจำหน่าย ณ แหล่งผลิตในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยเปรียบเทียบกับราคาสินค้าชนิดเดียวกันในปีฐาน ซึ่งเป็นดัชนีที่สำคัญที่บ่งชี้ถึงภาวะเงินเฟ้อ ของราคาผู้บริโภค ซึ่งคิดเป็นส่วนหลักของภาวะเงินเฟ้อโดยรวม
ดัชนี้ทางเศรษฐกิจเหล่านี้ เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของเครื่องมือทางเศรษฐกิจเท่านั้น ซึ่งในปฏิทินเศรษฐกิจ สามารถบ่งบอกดัชนีทางเศรษฐกิจตัวอื่นได้อีกมากมาย จึงทำให้เทรดเดอร์สามารถติดตามเหตุการณ์ที่ทำให้ตลาด FOREX เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ รวมถึง สามารถคาดการณ์ถึงเหตุการณ์สำคัญ ๆ ในตลาด ทำให้สามารถวางแผนและปรับเปลี่ยนการเทรด FOREX ได้อย่างทันท่วงที
อ่านบทความเพิ่มเติม
เราเป็นเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลความรู้, ข้อมูล, ข่าวสารในตลาด Forex และต้องเน้นย้ำว่าตลาด Forex มีความเสี่ยงสูง และไม่เหมาะสมกับทุกคน ควรมีการศึกษาข้อมูลให้เข้าใจก่อน นักลงทุนอาจสูญเสียเงินทั้งหมด เพราะการลงทุนมีความเสี่ยงเสมอ
คำเตือนความเสี่ยง การลงทุน และการเก็งกำไรมีความเสี่ยง นักลงทุนและนักเก็งกำไร ควรเรียนรู้เพิ่มเติม และปรึกษาที่ปรึกษาทางการเงิน ก่อนตัดสินใจลงทุนหรือเก็งกำไรใดๆการซื้อขายผลิตภัณฑ์ที่มีเลเวอเรจ เช่น CFD มีความเสี่ยงสูงที่จะขาดทุน และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกคน การซื้อขายบนตลาด Forex ดังกล่าวมีความเสี่ยง และคุณอาจสูญเสียเงินลงทุนทั้งหมด เว็บไซต์ www.forex.com จึงขอเป็นผู้ให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจ ว่าให้ความรู้ และคำแนะนำที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจ ทั้งบทความ และคลิปความรู้มากมาย