บทความ

Broker Forex คืออะไร
Share: facebook_share line_share twitter_share messenger_share

Broker Forex คืออะไร


Broker Forex คืออะไร

 

คนที่กำลังสนใจจะเทรด Forex หรือคนที่อยากจะเป็นนักเทรด คงเคยได้ยินคำว่า Broker หรือ Broker Forex มาบ้าง แต่คงจะสงสัยใช่ไหมว่ามันคืออะไร แล้วมันจะเป็นต่อการเทรดหรอ วันนี้เราจะมาพาคุณไปไขข้อข้องใจกัน

 

Broker Forex คืออะไร

Broker Forex เป็นเสมือนนายหน้าที่ให้บริการซื้อขาย Forex โดยโบรกเกอร์นั้นจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่คอยรวบรวมคำสั่งซื้อขาย แล้วส่งไปยังตลาดกลางอีกที ซึ่งนักลงทุนหรือเทรดเดอร์ทุกคนหากจะทำการเทรด Forex ก็จะต้องทำการซื้อขายผ่านทางโบรกเกอร์เท่านั้น ไม่สามารถซื้อขายโดยตรงกับตลาดกลางได้ เทรดเดอร์จะไม่สามารถเทรดโดยตรงกับ Forex Markets ได้ จำต้องส่งคำสั่งผ่าน โบรกเกอร์เท่านั้น

ตัวอย่างเช่น

โบรกเกอร์ A ได้รับราคาคู่สกุลเงิน EUR/USD มาจากตลาดกลางที่ราคา 1.20020 แต่เมื่อเราจะกด Buy เพื่อทำการซื้อเราก็จะได้มาในราคา 1.20040 แทน เป็นต้น นั้นหมายความว่าเมื่อเรากดซื้อเราจะขาดทุนทันที 20 จุด ทั้งนี้ทั้งนั้นส่วนต่างของราคาขึ้นอยู่กับแต่ละโบรกเกอร์และประเภทบัญชีเทรดด้วย ซึ่งบางประเภทบัญชีเทรดก็อาจจะไม่มีค่าส่วนต่างของราคาแต่ต้องมาเสียค่าคอมมิชชันให้กับทางโบรกเกอร์แทน ซึ่งโบรกเกอร์ Forex แบ่งได้เป็นสองประเภทคือ Non Dealing Desk (NDD) และ Dealing Desk (DD)

 

Broker มีหน้าที่หลัก ๆ อะไรบ้าง

  • เปิดบัญชีเทรด ตรวจสอบเอกสารยืนยันตัวตนของผู้เปิดบัญชีให้
  • บริการ ฝาก ถอน เงินเข้าบัญชีเทรด
  • ให้บริการแพลตฟอร์มสำหรับการเทรด เช่น MT4, MT5 Support
  • แก้ไขปัญหาการใช้งาน หรือให้ข้อมูลกับเทรดเดอร์

 

Broker Forex มีอยู่ 2 ประเภท ดังนี้

โบรกเกอร์ Dealing Desk (DD) 

เป็นโบรกเกอร์ที่ทำการเก็บออเดอร์เอาใว้มาจับคู่กันเอง ไม่ส่งคำสั่งไปที่ตลาดกลาง ซึ่งปัญหาของโบรกเกอร์ประเภทนี้ คือความเสี่ยงในช่วงที่กราฟผันผวนสูง ๆ จนทำให้ทางโบรกเกอร์นั้นจับคู่คำสั่งซื้อกับคำสั่งขายไม่ทัน ส่งผลให้เวลาที่เราจะกดเปิด - ปิด ออเดอร์ ก็มักจะมีการปฏิเสธคำสั่งซื้อขายของเรา หรือเกิดรีโควตนั่นเอง อีกทั้งหากมีความผันผวนสูงมากแล้วกราฟดันวิ่งไปในทิศทางเดียวกันกับทิศทางที่มีเทรดเดอร์ส่วนใหญ่ซื้อ ก็อาจจะทำให้ทางโบรกเกอร์นั้นเกิดการขาดทุนอย่างหนักจนอาจถึงขึ้นล้มละลายได้เลยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น วิกฤติ SNB ในปี 2558 ที่ผ่านมาที่ทำให้โบรกเกอร์ทั่วโลกกว่า 10 แห่งนั้นต้องล้มละลายกันเลยทีเดียว

  • จับคู่ออเดอร์ของลูกค้าภายในโบรกเกอร์เอง โดยนำออเดอร์ของลูกค้าที่กดคำสั่ง BUY จับคู่กับลูกค้าที่กดคำสั่ง SELL
  • หากโบรกเกอร์ไม่สามารถจับคู่สถานะของลูกค้าภายในโบรกเกอร์ตนเองได้ ก็จะนำคำสั่งซื้อ-ขายของลูกค้าไปเทรดตรงข้ามกับลูกค้าในตลาดจริงหรือโบรกเกอร์อื่นเพื่อป้องกันความเสี่ยง
  • รับออเดอร์จากลูกค้าโดยตรง เนื่องจากตรวจสอบดูแล้วน่าจะเป็นส่วนที่ไม่ทำกำไร โดยโบรกเกอร์รับออเดอร์ส่วนนี้ไว้เอง

ข้อดีของ โบรกเกอร์ Dealing Desk (DD) 

  • ค่า Spread ต่ำ แบบ Fixed ตายตัว
  • ค่า commission ต่ำ (บางโบรกไม่คิด)
  • ค่าบริการต่าง ๆ ถูกกว่าปกติ

ข้อเสียของ โบรกเกอร์ Dealing Desk (DD

  • อาจมีการส่งคำสั่งซื้อขายที่ล้าช้า
  • ราคาที่ได้อาจไม่ใช่ราคาจริงในตลาด (คลาดเคลื่อนนิดหน่อย)
  • อาจมีการปฏิเสธการรับคำสั่งซื้อ (Re-Quotes)
  • ช่วงที่มีปริมาณการเทรดมาก ช่วงมีข่าว มักมีปัญหาบ่อย
  • ในบางโบรกเกอร์ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ โบรกเกอร์สามารถตกแต่งราคาเองได้ (เคยมีข่าว SL Hunter)

 

โบรกเกอร์ Non Dealing Desk (NDD)

เป็นโบรกเกอร์ที่ส่งคำสั่งซื้อขายไปยังตลาดกลางโดยตรง จะไม่ทำการเก็บออเดอร์เอาใว้เอง ข้อดีคือเราจะได้ซื้อขายในราคาเดียวกับตลาดกลางเลย และ ทางโบรกเกอร์เองก็จะลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาไปได้พอสมควรทำให้โบรกเกอร์แบบแรกนี้ก็จะดูมีความน่าเชื่อถือมากกว่า อีกทั้งการส่งคำสั่งซื้อขายของเราก็จะมีความรวดเร็วมากกว่าเนื่องจากทางโบรกเกอร์นั้นส่งคำสั่งไปที่ตลาดกลางโดยตรงจึงทำให้มีสภาพคล่องที่สูง  โบรกเกอร์ประเภท No Dealing Desk (NDD) สามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท คือ

  • STP (Straight Through Processing System) ระบบ STP คือ การประมวลผลโดยตรง ในการจับคู่คำสั่งซื้อ - ขายของลูกค้าเข้าสู่ตลาดจริงโดยตรง ทำให้ได้ราคาตรงกับราคาตลาดจริงโดยระบบจะจัดเรียงลำดับ Bid กับ Ask ให้กับทางโบรกเกอร์ที่ใช้ระบบ STP
  • ECN+STP (Electronic Communication Network + Straight Through Processing) โบรกเกอร์ที่เป็น ECN+STP คือ การใช้ระบบที่ทำให้คำสั่งซื้อ-ขายสามารถจับคู่กับราคาในตลาดได้อย่างรวดเร็ว ไม่เกิดการรีโควต เนื่องจากระบบนี้เป็นระบบที่เมื่อเปิดบัญชีและป้อนคำสั่งเข้าไปแล้วระบบจะไม่เก็บข้อมูลไว้ที่โบรกเกอร์ก่อนส่งไปยังส่วนกลาง ทำให้ซื้อ - ขายได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับนักเทรดที่อยู่ในระดับมืออาชีพแล้ว

จ้อดีของ โบรกเกอร์ Non Dealing Desk (NDD)

  • จับคู่การซื้อขาย รวดเร็ว
  • ไม่ค่อยมี Re quote
  • มีความปลอดภัย มีความน่าเชื่อถือมากกว่า
  • โบรกเกอร์ต้องมีการขอในอนุญาติ ในรับรอง มีกฎระเบียนในการดำเนินการที่เคร่งครัด ทำให้สามารถไว้วางใจได้

ข้อเสียของ โบรกเกอร์ Non Dealing Desk (NDD)

  • ค่า Spread สูง
  • ค่า commission สูง
  • ค่าดูแล ค่าบริการต่าง ๆ อาจจะแพงกว่านิดหน่อย

 

Broker Forex ที่ดี เป็นยังไง

  • มีความน่าเชื่อถือ เปิดให้บริการมากกว่า 5 ปีขึ้นไป
  • การจดทะเบียนถูกต้อง มีใบอนุญาต มีหน่วยงานควบคุม ที่น่าเชื่อถือ
  • มีการป้องกันความเสี่ยงเงินในบัญชีเทรดของลูกค้า มีการแยกบัญชีลูกค้ากับบัญชีบริษัท
  • ความเร็วในการ ฝาก ถอน
  • ช่องทางการฝากถอนที่เหมาะสำหรับคนไทย มีความปลอดภัย
  • ค่าสเปรดต่ำ
  • ฝ่าย Support มีช่องทางติดต่อที่สะดวกเช่น chat online 24 ชั่วโมง

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

การเทรด Forex และ คนยุคใหม่

เทรด Forex เสี่ยงไหม




เราเป็นเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลความรู้, ข้อมูล, ข่าวสารในตลาด Forex และต้องเน้นย้ำว่าตลาด Forex มีความเสี่ยงสูง และไม่เหมาะสมกับทุกคน ควรมีการศึกษาข้อมูลให้เข้าใจก่อน นักลงทุนอาจสูญเสียเงินทั้งหมด เพราะการลงทุนมีความเสี่ยงเสมอ

คำเตือนความเสี่ยง การลงทุน และการเก็งกำไรมีความเสี่ยง นักลงทุนและนักเก็งกำไร ควรเรียนรู้เพิ่มเติม และปรึกษาที่ปรึกษาทางการเงิน ก่อนตัดสินใจลงทุนหรือเก็งกำไรใดๆการซื้อขายผลิตภัณฑ์ที่มีเลเวอเรจ เช่น CFD มีความเสี่ยงสูงที่จะขาดทุน และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกคน การซื้อขายบนตลาด Forex ดังกล่าวมีความเสี่ยง และคุณอาจสูญเสียเงินลงทุนทั้งหมด เว็บไซต์ www.forex.com จึงขอเป็นผู้ให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจ ว่าให้ความรู้ และคำแนะนำที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจ ทั้งบทความ และคลิปความรู้มากมาย